You are currently viewing โรงงาน OEM คืออะไร? เจ้าของธุรกิจต้องรู้ก่อนลงทุนผลิตแบรนด์!

โรงงาน OEM คืออะไร? เจ้าของธุรกิจต้องรู้ก่อนลงทุนผลิตแบรนด์!

เจ้าของธุรกิจหลาย ๆ คนคงทราบกันดีว่า การจะสร้างแบรนด์สินค้าขึ้นมานั้น ต้องใช้ทั้งเวลาและเงินลงทุนมหาศาล อีกทั้งยังมีความเสี่ยงสูงหากต้องสร้างโรงงานผลิตและคลังสินค้า เพราะเจ้าของธุรกิจต้องบริหารทรัพยากรทั้งแรงงานคน วัตถุดิบ รวมถึงควบคุมคุณภาพการผลิตให้มั่นคงและสม่ำเสมอเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยให้กับสินค้า เจ้าธุรกิจในปัจจุบันจึงหันมากนิยมใช้บริการโรงงานรับผลิตสินค้าครบวงจรหรือ OEM เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น ในบทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับโรงงาน OEM ว่าคืออะไร ส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างไร พร้อมเทคนิคในการเลือกโรงงานผลิตให้เหมาะสม

OEM หรือ Original Equipment Manufacturer คืออะไร

OEM คืออะไร

โรงงาน OEM หรือ Original Equipment Manufacturer คือโรงงานที่รับจ้างผลิตและออกแบบสินค้าตามวัตถุประสงค์หรือสูตรที่ผู้ว่าจ้างต้องการ โดยจะครอบคลุมตั้งแต่ทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บสินค้า และการควบคุมคุณภาพ เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการประหยัดต้นทุนในการสร้างแบรนด์ เพราะทางโรงงานมีเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตแบบครบวงจร ได้มาตรฐาน อีกทั้งโรงงาน OEM ที่มีความชำนาญเฉพาะทางยังสามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับแบรนด์ ทั้งประเภทของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ลักษณะของแพ็กเกจจิ้ง หรือสูตรการผลิตต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของเจ้าของธุรกิจ

ผลิตแบรนด์ผ่านโรงงาน OEM ดีต่อเจ้าของธุรกิจยังไง

ผลิตแบรนด์ผ่านโรงงาน OEM

ปัจจุบันการว่าจ้างผลิตสินค้าผ่านโรงงาน OEM ได้รับความนิยมจากหลากหลายธุรกิจมากขึ้น ด้วยข้อดีและความสะดวกหลาย ๆ ประการ อาทิ

1. ไม่ต้องสร้างโรงงาน

การสร้างโรงงานผลิตสินค้ามีขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องมีการจดทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ทำเรื่องตรวจสอบมาตรฐานต่าง ๆ ให้เหมาะสม อีกทั้งยังต้องใช้ต้นทุนสูงในการก่อสร้างอาคารและติดตั้งเครื่องจักร โรงงาน OEM จะช่วยประหยัดต้นทุนในส่วนนี้เนื่องจากมีเครื่องจักรในการผลิตเตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว อีกทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงไม่ต้องกังวลเรื่องคุณภาพในการผลิต

2. ลงทุนน้อยงบไม่บานปลาย

เพราะเจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเพื่อติดตั้งเครื่องจักรและจ้างแรงงาน รวมถึงไม่ต้องกังวลเรื่องข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการผลิต ทำให้ง่ายต่อการคำนวณต้นทุนสินค้าต่อล็อต เพราะเราสามารถกำหนดได้ว่าจะผลิตสินค้าในปริมาณเท่าใด ลดปัญหาสินค้าล้นตลาด ขายของไม่ออก ทุนจม หรือสินค้าเสียหายระหว่างขั้นตอนการผลิต ซึ่งทำให้งบประมาณบานปลายโดยใช่เหตุ

3. บริการจดใบรับรอง

ก่อนจะเริ่มทำการผลิตสินค้าชนิดหนึ่งขึ้นมา จะต้องมีการจดใบรับรองและใบอนุญาตต่าง ๆ อาทิ เลขทะเบียน อย. สำหรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ เลขที่จดแจ้ง สำหรับสินค้าประเภทเครื่องสำอาง เป็นต้น ซึ่งสำหรับเจ้าของธุรกิจที่ไม่มีประสบการณ์ก็จะมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน โรงงาน OEM จะช่วยอำนวยความสะดวกในการยื่นจดทะเบียน และประหยัดเวลาในการทำงานของแบรนด์

4. บริการวางแผนด้านการตลาด

การทำการตลาดเป็นอีกเรื่องสำคัญที่แบรนด์ต้องคำนึงถึง โรงงาน OEM บางแห่งจะมีทีมขายและทีมการตลาดคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ที่เหมาะกับลักษณะของสินค้า อาทิ การหาตัวแทนจำหน่าย จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย โฆษณาประชาสัมพันธ์บนช่องทางทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงแนะนำเทคนิครีดผ้าเรียบ เพื่อให้สินค้าโดดเด่นและน่าสนใจ

5. บริการออกแบบบรรจุภัณฑ์

โรงงาน OEM หลายแห่งยังมีบริการในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ขนาดเหมาะสมกับปริมาณสินค้า เลือกใช้วัสดุที่แข็งแรง ทนทาน สวยงาม สามารถเก็บรักษาสินค้าให้คงคุณภาพในระยะยาว และสามารถเลือกสี ฟอนต์ โลโก้ ที่เหมาะกับภาพลักษณ์ของสินค้าและตรงกับความต้องการของเจ้าของแบรนด์ได้

6. จัดหาวัตถุดิบ

การเลือกวัตถุดิบในการผลิตสินค้า โดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องสำอาง หรืออาหารเสริมนั้นจำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดในด้านคุณภาพและความปลอดภัยอย่างมาก หลาย ๆ โรงงานจึงมีบริการในการจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพตามที่เจ้าของแบรนด์ต้องการ ในราคาที่เหมาะสม เพื่อช่วยในการควบคุมต้นทุนไปพร้อมกับรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์

7. ไม่ต้องคิดสูตรเอง

สำหรับเจ้าของแบรนด์ที่ไม่อยากคิดสูตรเอง หรืออาจจะยังไม่มีงบประมาณและเวลาในการคิดค้นพัฒนาสูตร ก็สามารถเลือกผลิตสินค้าจากสูตรที่ทางโรงงาน OEM มีไว้อยู่แล้วได้ ซึ่งมีข้อดีคือ เป็นสูตรที่ได้มาตรฐาน สามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้ดีกว่า และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ดีกว่า เพียงแค่สร้างแบรนด์ และเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการก็สามารถวางขายได้ทันที

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนการว่าจ้างโรงงาน OEM

สิ่งที่ควรรู้ก่อนจ้างโรงงาน OEM

ในปัจจุบันมีโรงงาน OEM เปิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจึงควรให้ความสำคัญกับการเลือกพาร์ทเนอร์ที่จะทำการค้าร่วมกัน โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

1. ตรวจสอบมาตรฐานของโรงงาน

สิ่งสำคัญที่สุดในการผลิตสินค้าคือมาตรฐานและความปลอดภัย ก่อนจะเลือกว่าจ้างโรงงาน OEM ทุกครั้ง เจ้าของธุรกิจควรตรวจสอบว่าโรงงานที่เราเลือกนั้นเป็นโรงงานที่มีอยู่จริงหรือก่อตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เช่นเดียวกับการเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างที่ต้องมีความน่าเชื่อถือ โดยสามารถเช็กได้จากเว็บไซต์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงมาตรฐานโรงงานและ Certificate ต่าง ๆ ที่แต่ละโรงงานควรได้รับ อาทิ มาตรฐาน มอก. มาตรฐาน GMP มาตรฐาน ISO เป็นต้น

2. ตรวจสอบสัญญาว่าจ้าง

ผู้ว่าจ้างควรตรวจสอบสัญญาโดยละเอียด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความลับทางการค้าด้านวัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิต รวมถึงเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานว่ามีความเป็นธรรมหรือไม่ หากมีจุดใดที่รู้สึกว่าไม่ตรงกับที่ได้คุยไว้ ควรทำการแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดหรือความเสียหายตามมาภายหลัง

3. รู้ทุกขั้นตอนการผลิต

ผู้ว่าจ้างมีสิทธิ์ที่จะได้รับทราบในทุกขั้นตอนการผลิต ตั้งแต่ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบ มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ การทดสอบสินค้า บรรจุภัณฑ์ และการจัดส่ง และมีสิทธิ์ที่จะรับทราบปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการผลิต และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา  เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหาในระหว่างขั้นตอนการผลิต

4. สินค้ามี อย.

สินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม อาหารเสริม หรือเครื่องสำอางบางประเภท จำเป็นต้องมีการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อรับรองคุณภาพ ผู้ว่าจ้างไม่ควรให้โรงงานสวมเลขทะเบียน อย. ของสินค้าอื่นเพื่อเร่งวางขายสินค้า ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และอาจถูกดำเนินคดีได้

5. มีทีมคอยให้คำปรึกษา

เจ้าของธุรกิจหน้าใหม่หลาย ๆ ราย ที่อาจยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตสินค้า ควรเลือกโรงงาน OEM ที่มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง คอยแนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประเภทของวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจวางแผนการผลิตและตัดสินใจดำเนินงานได้ง่ายขึ้น

6. จัดสรรงบประมาณ

ก่อนว่าจ้างโรงงาน OEM เจ้าของธุรกิจควรขอใบเสนอราคา เพื่อวางแผนงบประมาณในการผลิตไม่ให้บานปลายในระยะยาว ทั้งปริมาณสินค้าที่ต้องการผลิต ค่าวัตถุดิบ ค่าบริการต่าง ๆ ค่าธรรมเนียม และอื่น ๆ โดยควรเลือกโรงงานที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ น่าเชื่อถือ และเสนอราคาที่เหมาะสม สอดคล้องกับคุณภาพ และมาตรฐานการผลิต

7. ทดสอบก่อนวางขาย

การทดสอบสินค้าก่อนวางขาย เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้มั่นใจว่าสินค้ามีคุณภาพ ปลอดภัย และตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เจ้าของธุรกิจที่ว่าจ้างโรงงาน OEM ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าโรงงานมีกระบวนการทดสอบสินค้าที่เหมาะสม และสามารถเข้าไปเยี่ยมชมภายในห้องปฏิบัติการระหว่างการทดสอบสินค้า เพื่อความปลอดภัยและมาตรฐาน รวมถึงสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นก่อนวางขายจริงได้ทันท่วงที

ตัวอย่างสินค้าที่ผลิตโดยโรงงาน OEM

ตัวอย่างสินค้าที่ผลิตโดยโรงงาน OEM

ปัจจุบันมีโรงงาน OEM ที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าในหลากหลายหมวดหมู่ ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าที่เจ้าของธุรกิจต้องการสร้างแบรนด์ โดยกลุ่มสินค้าหลัก ๆ ที่นิยมว่าจ้างให้ผลิตโดยโรงงาน OEM มีดังนี้

1. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด

สุขอนามัยถือเป็นเรื่องสำคัญที่แทบทุกคนให้ความสนใจ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่โรคโควิด-19 ยังคงอยู่ใกล้ตัวเราเสมอ สินค้าประเภทน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว ผงซักฟอก สเปรย์ฆ่าเชื้อในอากาศ เจลล้างมือ หรือผลิตภัณฑ์อาบน้ำจึงยังคงได้รับความนิยมอยู่เสมอ และมีการพัฒนาสูตรที่มีความอ่อนโยน เหมาะกับผู้สูงอายุหรือเด็กเล็กมากขึ้นเรื่อย ๆ

2. ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

เครื่องสำอางและสินค้าด้านความงามหลากหลายประเภท ทั้งลิปสติก ครีมกันแดด ครีมบำรุงผิว คุชชั่น น้ำหอม และอื่น ๆ ได้รับความนิยมจากผู้ที่สนใจในเทรนด์การดูแลตัวเองมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะสินค้าที่มีแพ็กเกจจิ้งน่ารัก สดใส และใช้ส่วนประกอบจากธรรมชาติ เราจึงเห็นว่ามีโรงงาน OEM รับผลิตเครื่องสำอางเพิ่มขึ้นมากมาย เพื่อรองรับความต้องการของแบรนด์เล็ก ๆ ที่ต้องการเจาะกลุ่มลูกค้ารุ่นใหม่

3. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

เรื่องของการดูแลสุขภาพก็เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่กำลังมาแรง ผู้คนต่างให้ความสนใจในการรับประทานอาหารเสริมอย่างโพรไบโอติกส์ และสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยในการชะลอวัยและสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง ธุรกิจแบรนด์อาหารเสริมจึงได้รับความนิยมสูง รวมถึงโรงงาน OEM ที่รับผลิตอาหารเสริมก็เติบโตตามไปด้วยเช่นกัน

4. ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค

สินค้าอุปโภคและบริโภคที่ผลิตจากส่วนผสมธรรมชาติและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือที่เราเรียกกันว่า สินค้าออร์แกนิค ก็ได้รับความสนใจจากผู้ที่ดูแลสุขภาพไม่แพ้กัน แบรนด์สินค้าหลาย ๆ แบรนด์และโรงงานจึงให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่ปราศจากสารเคมี เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

5. อาหารและเครื่องดื่ม

อาหารและเครื่องดื่มถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อมนุษย์ และต้องระมัดระวังในทุกขั้นตอนการผลิตเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เจ้าของธุรกิจจึงนิยมว่าจ้างโรงงาน OEM ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ให้ผลิตสินค้าประเภทนี้ โดยให้ความสำคัญกับเรื่องสารอาหาร ประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงมาตรฐานอื่น ๆ เช่นมาตรฐานฮาลาล สำหรับอาหารและเครื่องดื่มเพื่อชาวมุสลิม เป็นต้น

การผลิตแบรนด์สินค้าผ่านโรงงาน OEM จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เจ้าของธุรกิจยุคใหม่ให้ความสนใจ เพราะจะช่วยให้แบรนด์สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้ โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนหรือเวลามหาศาล และสิ่งสำคัญที่สุดนอกจากเรื่องของคุณภาพการผลิตสินค้าที่เจ้าของธุรกิจต้องให้ความใส่ใจแล้ว การทำการตลาดออนไลน์เพื่อโปรโมตสินค้าให้เป็นที่รู้จักบนช่องทางต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตไปอีกขั้น และทำให้ธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักในวงกว้างเพื่อสร้างยอดขายที่มั่นคงในระยะยาว